วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง...สื่อการเรียนการสอนภาษาเกาหลี

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้คนที่เข้ามาศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น
  2. เพื่อให้คนที่ต้องการเรียนรู้การเขียนตัวอักษรเกาหลีได้เข้าใจและสามารถเขียนได้
  3. เพื่อให้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับคนที่อยากเข้าใจในภาษาเกาหลีได้ศึกษาต่อไป

บทเรียน


  • ความเป็นมาของภาษาเกาหลี
  • แบบฝึกหัดก่อนเรียน
  • คำศัพท์
  • ตัวเลขของภาษาเกาหลี
  • บทสนทนา
  • วิธีการเขียนตัวเกาหลี
  • สระและตัวอักษรภาษาเกาหลี


ความเป็นมาของภาษาเกาหลี


ในอดีตประเทศเกาหลีนั้นไม่มีอักษรเป็นของตนเอง ชาวเกาหลีจึงได้รับเอาอักษรจากจีนมาใช้   ซึ่งอักษรจีนนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นอักษรที่ยาก เพราะมีความซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษามากจึงจะสามารถศึกษาภาษาจีนได้อย่างแตกฉานด้วยเหตุผลนี้เอง ในสังคมเกาหลีจึงมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถศึกษาอักษรจีนได้    ชาวบ้านสามัญชนธรรมดาจึงไม่สามารถอ่านและเขียนอักษรจีนได้ในปี ค.ศ.1443 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเซจงมหาราชพระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหานี้ พระองค์จึงต้องการให้ประเทศเกาหลีมีอักษรเป็นของตนเองและอักษรนั้นจะต้องเป็นอักษรที่ประชาชนทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ง่ายพระองค์และคณะนักปราชญ์ในยุคนั้นจึงได้ประดิษฐ์ พยัญชนะ และสระเกาหลีขึ้นมารวมเรียกว่า 혼민정음 (ฮุนมินจองอึม) แปลว่า “เสียงอักษรที่ถูกต้องไว้เพื่อสอนประชาชน”ต่อมาก็ได้มีการพัฒนา และปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนในที่สุดได้ปรับเปลี่ยนชื่อจาก 혼민정음 (ฮุนมินจองอึม)มาเป็น 한글 (ฮันกึล) ซึ่งแปลว่า “อักษรเกาหลี   เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม”  ภาษาเกาหลี เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดเหยียนเปียน มณฑลจื๋อหลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลี) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV)

แบบฝึกหัดก่อนเรียน

  • พยัญชนะซ้อนในภาษาเกาหลีมีกี่ตัว
  • สระเดี่ยวในภาษาเกาหลี ㅏ อ่านว่าอะไร
  • 백 (แพก) ตัวเลขในภาษาเกาหลีมีค่าเท่าไหร่
  • สระผสมในภาษาเกาหลีมีกี่ตัว อะไรบ้าง
  • 남 자 (นัมจา)   여 자 (ยอจา)  ในภาษาเกาหลีมีความหมายว่าอย่างไร

“คำศัพท์ภาษาเกาหลีง่ายๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน”

การทักทาย

  • 안 녕 (อันยอง) สวัดดี
  • 처 음 (ชออึม) ครั้งแรก
  • 븹 다 (เบบดา) พบกัน
  • 감 사 하 나 (กำซาฮาดา) ขอบคุณ
  • 당 신 (ดังซิน) คุณ
  • 평 안 하 다 (พยองอันฮาดา) สบายดี
  • 반 갑 다 (บันกับดา) ยินดี
  • 여 보 세 요 (ยอโบเซโย้) ฮัลโหล
  • 성 함 / 이 름 (ซองฮำ/อีรืม) ชื่อ
  • 무 엇 (มูออด) อะไร


การขอโทษ
  • 미 안 하 다 (มีอันฮาดา) ขอโทษ
  • 유 감 스 럽 다 (ยูกำซือหรอบดา) เสียใจ
  • 용 서 하 다 (ยงซอฮาดา) ขออภัย
  • 잘 못 하 다 (จัลมดฮาดา) ทำผิด
  • 괜 잖 다 (แกวนซันทา) ไม่เป็นไร


การถาม
  • 누구 (นูกู) ใคร
  • 왜 (แว) ทำไม
  • 어 떻 게 (ออคอเค) อย่างไร
  • 어 디 서 (ออดีซอ) ที่ไหน 

บุคคลและครอบครัว

  • 남 자 (นัมจา) ผู้ชาย
  • 여 자 (ยอจา) ผู้หญิง
  • 게 이 (เกอี) กระเทย
  • 어 른 (ออ รึน) ผู้ใหญ่
  • 님 자 아 이 (นัมจาอาอี) เด็กชาย
  • 여 자 아 이 (ยอจาอาอี) เด็กหญิง
  • 아 버 지 (อาบอจี) พ่อ
  • 어 머 니 (ออมอนี) แม่
  • 아 들 (อาดึล) ลูกชาย
  • 딸 (ตัล) ลูกสาว
  • 형 (ฮย็อง) พี่ชาย(น้องชายเรียกพี่ชาย)
  • 오 빠 (โอปา) พี่ชาย(น้องสาวเรียกพี่ชาย)
  • 누 나 (นูนา) พี่สาว(น้องชายเรียกพี่สาว)
  • 언 니 (อ็อนนี) พี่สาว(น้องสาวเรียกพี่สาว)
  • 남 동 생 (นัมดงแซ็ง) น้องชาย
  • 여 동 생 (ยอดงแซ็ง) น้องสาว
  • 사 촌 (ซาชน) ลูกพี่ลูกน้อง
  • 남 편 (นัมพย็อน) สามี
  • 아 내 (อาแน) ภรรยา
  • 친 구 (ชินกู) เพื่อน
  • 애 인 /연 인 (แออิน/ยออิน) แฟน/คู่รัก

ตัวเลขในภาษาเกาหลี

ตัวเลขในภาษาเกาหลีมี 2 แบบโดยแบ่งตามการใช้งานคือ 

1.ตัวเลขแบบเกาหลีแท้ ใช้ในการบอก อายุ จำนวนนับ เวลา(ชั่วโมง) เท่านั้น

2.ตัวเลขแบบจีน ใช้ในการบอก ราคาสินค้า วัน เดือน ปี มาตราชั่ง ตวง วัด หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขรถประจำทาง เวลา(นาที)ซึ่งเกาหลีได้รับอิทธิพลมาจากจีนหลายอย่างรวมทั้งตัวเลข โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องเลข 4 ในภาษาจีนเลข 4 จะออกเสียงเหมือนคำว่า สื่อ ที่แปลว่า ตาย ดังนั้นชาวเกาหลีจะถือว่าเลข 4 เป็นเลขอวมงคล จะไม่กล่าวถึงหรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงตัวเลขนี้ในงานมงคล ยิ่งในบางพื้นที่ที่เชื่อในโชคลางมาก เขาจะหลีกเลี่ยงการนำเลข 4 เข้ามาเกี่ยวข้องกับสถานที่หรือวิถีการดำเนินชีวิตหรือในการทำงาน เช่น เลข 4 จะไม่ปรากฏในลิฟท์ หลีกเลี่ยงที่จะนำมาเป็นเลขที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ในออฟฟิส 

ตารางแสดงตัวเลขที่ใช้ในภาษาเกาหลี

ตัวเลข
ตัวเลขแบบเกาหลีแท้
ตัวเลขแบบจีน
0
ยอง
คง
1
ฮานา/ฮัน
하나/
อิล
2
ทูล/ทู
 /
อี
 
3
เซด/เซ
 /
ซัม
 
4
เนด/เน
 /
ซา
 
5
ทา ซอด
다섯
โอ
 
6
ยอ ซอด
여섯
ยุก
 
7
อิล กบ
일곱
ชิล
 
8
ยอ ดอล
 여덟
พัล
 
9
อา ฮบ
아홉
คู
 
10
ยอล
 
ชิบ
 
11
ยอล ฮานา
  하나
ชี บิล
 십일
12
ยอล ทูล
 열둘
ชี บี
 십이
13
ยอล เซด
  
ชิบ ซัม
 십삼
14
ยอล เนด
  
ชิบ ซา
 십사
15
ยอล ทา ซอด
  다섯
ชิบ โบ
 십오
16
ยอล ยอ ซอด
 여섯
ชิบ ยุก
 십육
17
ยอล  อิล กบ
  일곱
ชิบ ชิล
 십칠
18
ยอล ยอ ดอล
  여덟
ชิบ พัล
 십팔
19
ยอล อา ฮบ
  아홉
ชิบ คู
 십구
20
ซือ มุล
 스문
อี ชิบ
 이십
30
ซอ ลึน
  
ซัม ชิบ
 삼십
40
มา ฮึน
  
ซา ชิบ
 사십
50
ซีน
 
โอ ชิบ
 오십
60
เย ซุน
  
ยุก ชิบ
 육십
70
อิล ฮึน
 일흔
ชิล ชิบ
 칠십
80
ยอ ดึน
  
พัล ชิบ
 팔십
90
อา ฮึน
  
คู ชิบ
 구십

*****ตั้งแต่ ร้อย ขึ้นไปทั้งสองแบบจะใช้ ตัวเลขเหมือนกันตามด้านล่างนี้ 

백 (แพก) 100 ร้อย

천 (ชอน) 1000 พัน

만 (มัน) 10000 หมื่น

억 (ออก) 100000000 ร้อยล้าน

"บทสทนาที่ใช่บ่อยที่สุด"

สวัสดีครับ/ค่ะ
안녕하세요. / 안녕하십니까.
(อันนยองฮาเซโย / อันนยองฮาชิมนีกา)

สวัสดีครับ/ค่ะ (ในโทรศัพท์)
여보세요. (ยอโบเซโย)

ก่อนอื่นฉันขอแนะนำตัวก่อนน่ะค่ะ 
자기 소개해 드리겠어요.
(ชากี โซแกแฮ ทือรีเกซซอโย)

ฉันชื่อ....................ครับ/ค่ะ
제 이름은 ........(ชื่อ)........입니다.
(เช อีรือมึน ...............(ชื่อ)

ชื่อเล่นของฉันชื่อ.........ค่ะ
제 별명이 ..........이에요./예요.
(เช พยอลมยองี ...........อีเอโย/เยโย)
(ถ้าชื่อลงท้ายตัวสะกดใช้อีเอโยแล้วอ่านแบบโยงเสียง ถ้าเป็นสระก็ใช้เยโยจ้า)

ฉันเป็นคนไทย
제가 태국인입니다.
(เชกา แทกูกินอิมนีดา)

ฉันอ่านภาษาเกาหลีได้
한글을 읽을 수 있어요.
(ฮันกือรึล อิลกึล ซู อิดซอโย)

ยินดีที่ได้รู้จัก
반갑습니다.
(พันกับซึมนีดา)

ฉันกำลังเรียนภาษาเกาหลี
한국말을 공부합니다.
(ฮันกุกมรึล คงบุฮัมนีดา)

สบายดีมั้ย?
별일없어요? / 잘 지냈어요? 
(พยอรีริลซอโย? / ชัล จีแนดซอโย?)

สบายดี 
좋아요./잘 지냈어요.
(โชอาโย/ชัล จีแนดซอโย)

เข้าใจมั้ย?
이해했어요? / 알았어요?
(อีแฮแฮดซอโย / อารัดซอโย?)

ไม่แน่ใจ
잘몰라요.
(ชัลมลราโย)

กรุณารอสักครู่
잠깐만기다리세요. / 잠깜만요.
(ชัมตันมันกีดารีเซโย / ชัวตัมมันโย)

มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ? (may i help you)
도와 드릴까요?
(โทวา ทือริลกาโย๊)

รบกวนด้วยนะคะ
부탁합니다. 
(พูทอกฮัมนีดา)

เข้าใจที่ฉันพูดไหมคะ 
이해해요?
(อีแฮแฮโย?)

ดิฉันพูดภาษาเกาหลีไม่ค่อยเป็นถ้าพูดผิดยังงัยก็ต้องขอโทษด้วยนะคะ 
저는 한국말 잘 못 해서...어쨌든  미안해요.
(ชอนึน ฮันกุกมัล ชัล แฮชอ...ออแจดทึน มีอันแฮโย)

เข้าใจค่ะ 
이해해요, 알겠어요. 
(อีแฮแฮโย, อัลเกซซอโย)

ไม่เข้าใจค่ะ 
이해 안 가요. 
(อีแฮ อัน คาโย)

คุณจะไปที่ไหนคะ
어디 가요? 
(ออดี คาโย๊)

ฉันมาจากโรงเรียน.....ฉันขอสัมภาษณ์คุณเพื่อทำรายงานส่งอาจารย์จะได้ไหมคะ
저는 학생이에요. 저는 리포트를 하기 위해서 당신을 면접해도 돼요?
(ชอนึน ฮักแซงีเอโย. ชอนึน รีโพทือรึล ฮากี วีแฮชอ ทังชินึล มยอนชอบแฮโด ทแวโย๊)
หรือ
저는 한류에 대한 리포트를 해야 하는데 당신을 면접면 돼요?
(ชอนึน ฮันรยูเอ แทฮัน รีโพทือรึล แฮยา ฮานึนเด ทังชินึล มยอนชอบ ทแวโย๊)

(면접면 돼요?  --> 면접하면)
(มยอนชอบมยอน ทแวโย๊ --> มยอนชอบอามยอน)

ฉันสามารถอ่านเขียนภาษาเกาหลีได้แต่ไม่ค่อยรู้ความหมายค่ะ 
저는 한글을 읽고 쓸 수 있는데 의미를 잘 몰라요.
(ชอนึน ฮันกือรึล อิกโก ซึล ซู อิซนึนเด เอมีรึล ชัล มุลรอโย)

วันศุกร์ ที่ 25 มกราคม 2550
2007.01.25 금 /  2007년 1월 25일 금요일
(2007.01.25 กึม / 2007 นยอง 1 วอล 25 อิล คึมโยอิล)

รอสักครู่นะคะ
잠깐만 기다리세요, 잠깐만요.
(ชัมกันมัน คีดารีเซโย, ชัมกันมันโย)

ขยันเรียนนะคะ
영심히 공부하세요.
(ยองชิมฮี คงบุฮาโซโย)

ฉันเป็นห่วงเขาจังเลย...เธอไม่ห่วงบ้างเหรอ
난 그를 걱정해요. 너 안 그래요? 
(นัน คือรึล คักชองแฮโย. นอ อัน คือแรโย?)

ช่วยด้วย!!
도와 주세요. ช่วยทั่วไป
(โทวา ชุเซโย)
살려 주세요. ช่วยชีวิต
(ซอลรยอ ชุเซโย)

สถานที่นี้ไปยังไงครับ
에 어떻게 가야해요?
(เอ ออต็อดเก คายาแฮโย?)

เดินตรงไปเลี้ยวซ้าย
똑바요.
(ต๊กพาโย)

คุณช่วยตอบเป็นภาษาอังกฤษได้ไหมคะ
영어를 대답할 수 있어요?
(ยองออรึล แทดัลฮัล ซู อิซซอโย๊?)

ฉันรู้คำของเกาหลีไม่กี่คำเอง
저는 한군말을 조금 알아요.
(ชอนึน ฮันกุกมารึล โชกึม อาราโย)

ฉันจะพยายามเรียนภาษาเกาหลีค่ะ
저는 한국말을 열심히공부해요.
(ชอนึน ฉันกุกมารึล ยอลชิมฮี คงบุแฮโย)

ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
암시해 주세요.,설명해 주세요.
(อัมชีแฮ ชุเซโย.,ชัลมยองแฮ ชุเซโย)

ฉันพิมพ์ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ , ถ้าพิมพ์ผิดไปบ้าง ขอโทษด้วยน่ะค่ะ
제가 한국어를 못 잘해요. 실수있으면 정말 미인해요.
(แชกา ฮันกุกอรึล มด ชัลแฮโย. ชิลชุอิซซือมยอน ชองมัล มีอันฮัมนีดา)

สวัสดีเพื่อน ๆทุกคนและอาจารย์
안녕하세요! ,여러분
(อันนยองฮาเซโย,ยอรอบุน)

ชื่อคุณสะกดยังไงคะ?
당신 이름은 어떻게 표기합니까?
(ทังชิน อีรือมึน ออตอดเก พโยกิฮัมนีดา?)

คุณอาศัยอยู่ที่ไหนหรอคะ?
어디서 살아요?
(ออดีซอ ชาราโย?)

คุณหมายความว่ายังไงนะคะ?/หมายความว่าอะไรน่ะ?
그것은 무슨 뜻인가?
คือกอซึน มูชิน ตือชินกา?)

อะไรหรอ?
뭐라고?
(มวอราโก?)

คุณทำอะไรอยู่หรอคะ?
뭐해요?
(มวอแฮโย?)

คุณชื่ออะไรคะ?
성함이 어떻게 되세요?
(ชองฮามี ออตอดเก ทวีเซโย?)

เขาจะไปไหนคะ?
어디 갔어요?
(ออดี กัซซอโย?)

ไปยังไงคะ?
잘 지내요?
(ชัล ชีแนโย?)

วิธีการเขียนตัวเกาหลี

คำประธานในภาษาเกาหลี

  • ถ้าอยากจะพูดเป็นประโยคได้ อันดับแรกต้องเข้าใจเรื่องส่วนประกอบของประโยคก่อน
  • เริ่มจากประธาน ฉัน - (นา) ถ้าเป็นทางการใช้ (เช) คุณ (นอ) ถ้าเป็นทางการใช้ 당신 (ทังชิน) เขาผู้ชาย (คือ) เขาผู้หญิง 그녀 (คือ นยอ) เรา 우리 (อุรี)
  • สำหรับประธานที่เป็นพหูพจน์คำอื่นๆจะเติม (ดึล) ด้านหลัง เช่น 당신들, 그들, 그녀들
  • เราสามารถใช้ชื่อคนหรือตำแหน่งเป็นประธานได้เลยเช่น 영수 - คุณยองซู (ยองซู ชี) 선생님 - อาจารย์ลี (อี ซอนแซงนิม) 아버지คุณพ่อ (อาบอจี)
  • คำว่าคุณในภาษาเกาหลีก็คือ ส่วนคำว่า หมายความว่า คุณ เ่ช่น 선생님 คุณครู 아버님 คุณพ่อ
  • ในภาษาเกาหลีนอกจาก ประธาน กิริยา กรรมแล้ว ยังมีคำช่วยที่ไว้เชื่อมระหว่างประธานกับกิริยา และกรรม

การสร้างประโยคในภาษาเกาหลี

  • คราวนี้มาดูคำช่วยที่เชื่อมระหว่างกิริยากับกรรมเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ถูกกระทำ (ดูตัวอย่างจะเข้าใจมากขึ้นนะ) มีดังนี้
  • 1. คำนาม(กรรม) ที่ไม่มีตัวสะกด ใช ้ (รึล) เช่น 친구 อ่านว่า ชิน กุ แปลว่า เพื่อน 의자 อ่านว่า อึย จา แปลว่า เก้าอี้
  • 2. คำนาม(กรรม) ที่มีตัวสะกด ใช้ (อึล) เช่น 선생님 อ่านว่า ซองแซงนิมแปลว่า คุณครู อ่านว่า แชกแปลว่าหนังสือ ..เสียงจะเปลี่ยนตามเสียงตัวสะกดของประธาน เช่น 선생님을 ออกเสียงว่าซองแซงนิมมึล 책을 ออกเสียงว่าแชกกึล
  • สำหรับกรณีที่เราจะเชื่อมระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เราจะใช้ , หรือ , เช่น
  • 한국 음식이 맛있어요. …อ่านว่า ฮัน กุก อึม ชิก กี มัด ชิด ซอ โย..แปลว่าอาหารเกาหลีอร่อย
  • 한국 여자가 예뻐요. …อ่านว่า ฮัน กุก ยอ จา กา เย ปอ โย..แปลว่าผู้หญิงเกาหลีสวย
  • และแล้วก็มาถึงเวลา ลองสร้างประโยคแบบง่ายๆ
  • ประธาน + คำชี้ประธาน + กรรม + คำชี้กรรม + กิริยา
  • 나는 밥을 먹습니다 . อ่านว่า นา นึน พับ บึล มอก ซึม นิ ดา แปลว่า ฉันกินข้าว ( แปลว่า ข้าว먹습니다. แปลว่า กิน)
  • 진영 씨가 술울 마십니다. อ่านว่า จิน ยง ชี กา ซุล รึล มา ชิม นิ ดา แปลว่า คุณจินยงดื่มเหล้า ( แปลว่า เหล้า 마십니다แปลว่า ดื่ม)


ประโยค 입니다

  • รูปประโยคพื้นฐานอีกแบบนึงคือ 입나다 มีความหมายว่า เป็น นั่นเอง
  • วิธีใช้ ประธาน + ตัวชี้ประธาน ( / หรือ / ) + คำนาม + 입니다.
  • ประโยคหากิน ไว้แนะนำตัว 저는 진수정입니다. ชอ นึน จิน ซู จอง อิม นิ ดา ฉันคือ จิน ซู จอง
  • 이름은 진수정입니다. เช อิ รึม มึน จิน ซู จอง อิม นิ ดา่ ชื่อของฉันคือ จิน ซู จอง
  • 저는 태국 사람입니다. ชอ นึน แท กุก ซา รัม อิม นิ ดา ฉันเป็นคนไทย
  • ทำเป็นประโยคคำถามก็เปลี่ยนจาก 입니다 เป็น 입니까?
  • 태국 사람입니까? แท กุก ซา รัม อิม นิ ก๊า คุณเป็นคนไทยใช่มั๊ย
  • วิธีการตอบ , 저는 태국 사람입니다. เน ชอ นึน แท กุก ซา รัม อิม นิ ดา ใช่ ฉันเป็นคนไทย
  • 아니오, 태국 사람이 아닙니다. 한국 시람입니다. อา น โอ แท กุก ซา รัม มิ อา นิม นิ ดา ฮัน กุก ซา รัม อิม นิ ดา ไม่ใช่ ฉันไม่ใช่คนไทย ฉันเป็นคนเกาหลี


พยัญชนะ และ สระ

อนที่จะเริ่มศึกษา ภาษาเกาหลี นั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องเรียนรู้ และจดจำให้แม่นยำ ก็คือ พยัญชนะ และ สระนั่นเอง โดย อักษรภาษาเกาหลี หรือ ฮันกึล (한글) พระเจ้าเซจง เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัว, พยัญชนะซ้อน 5 ตัว, สระเดี่ยว 10 ตัว และ สระประสม 11 ตัว ดังนี้
พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัว ได้แก่
ㄱ อ่านว่า กี ยอก ตรงกับอักษร ก หรือ ค ในภาษาไทย
ㄴ อ่านว่า นี อึน ตรงกับอักษร น ในภาษาไทย
ㄷ อ่านว่า ดี กึด ตรงกับอักษร ด หรือ ท ในภาษาไทย
ㄹ อ่านว่า /รี อึล/ ตรงกับอักษร ร ในภาษาไทย
ㅁ อ่านว่า /มี อึม/ ตรงกับอักษร ม ในภาษาไทย
ㅂ อ่านว่า /บี อึบ/ ตรงกับอักษร บ หรือ พ  ในภาษาไทย
ㅅ อ่านว่า /ชี อด/ ตรงกับอักษร ซ หรือ ช ในภาษาไทย
ㅇ อ่านว่า /อึ อึง/ ตรงกับอักษร ง ในภาษาไทย หรือไม่ออกเสียง
ㅈ อ่านว่า /ชี อึด/ ตรงกับอักษร จ หรือ ช ในภาษาไทย
ㅊ อ่านว่า /ชิ อึด/ ตรงกับอักษร ช (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅋ อ่านว่า /คิ อึด/ ตรงกับอักษร ค (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅌ อ่านว่า /ทิ อึด/ ตรงกับอักษร ท (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅍ อ่านว่า /พิ อึบ/ ตรงกับอักษร พ (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅎ อ่านว่า /ฮี อึง/ ตรงกับอักษร ฮ ในภาษาไทย

พยัญชนะซ้อน 5 ตัว ได้แก่

ㄲ อ่านว่า /ซัง กี ยอก/ ตรงกับอักษร ก (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㄸ อ่านว่า /ซัง ดี กึด/ ตรงกับอักษร ต ในภาษาไทย
ㅃ อ่านว่า /ซัง บี อึบ/ ตรงกับอักษร ป ในภาษาไทย
ㅆ อ่านว่า /ซัง ชี อด/ ตรงกับอักษร ซ (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย
ㅉ อ่านว่า /ซัง ชี อึด/ ตรงกับอักษร จ (ออกเสียงหนัก) ในภาษาไทย

สระเดี่ยว 10 ตัว ได้แก่

ㅏ อ่านว่า อา, อะ
ㅑ อ่านว่า ยา
ㅓ อ่านว่า เอาะ, ออ
ㅕ อ่านว่า ยอ
ㅗ อ่านว่า โอะ, โอ
ㅛ อ่านว่า โย
ㅜ อ่านว่า อุ, อู
ㅠ อ่านว่า ยู
ㅡ อ่านว่า อึ, อือ
ㅣอ่านว่า อิ, อี

สระประสม 11 ตัว ได้แก่

ㅐ อ่านว่า แอ (แต่เวลาออกเสียงจริงๆ จะอ่านว่า เอ)
ㅒ อ่านว่า แย (แต่เวลาออกเสียงจริงๆ จะอ่านว่า เย)
ㅔ อ่านว่า เอ
ㅖ อ่านว่า เย
ㅘ อ่านว่า วา
ㅙ อ่านว่า แว (แต่เวลาออกเสียงจริงๆ จะอ่านว่า เว)
ㅚ อ่านว่า เว
ㅝ อ่านว่า วอ
ㅞ อ่านว่า เว
ㅟ อ่านว่า วี
ㅢ อ่านว่า อึย, อี, หรือ เอ (ขึ้นอยู่กับคำๆ นั้น)

ข้อควรจำ

  • แม้ว่า พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัวอักษรข้างต้นนั้น จะมีบางตัวที่การออกเสียงคล้ายกันในภาษาไทย แต่สำหรับภาษาเกาหลีแล้ว การลงน้ำหนักเสียงที่ต่างกัน จะได้ความหมายของคำที่ต่างกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ตัว ㄱ, ㄷ, ㅂ, ㅈ จะสามารถออกเสียงได้ 2 แบบ ถ้าหากคำๆ นั้น มีอักษรแบบเดียวกันติดกัน 2 คำ เช่นคำว่า 가게 ที่แปลว่า ร้านค้า เราจะไม่ออกเสียงว่า /กา-เก/ แต่เราจะออกเสียงว่า /คา-เก/  แทน
  • อักษร ㅅ (ชี อด) แม้ว่ารูปแบบการออกเสียงจริงๆ จะเป็น ซ โซ่ แต่เมื่อมีการประสมเข้ากับ สระอี หรือ สระเสียงเสียง ย ได้แก่ ㅑ, ㅕ, ㅛ หรือ ㅠ  จะออกเสียงเป็น ช ช้าง ทันที ยกตัวอย่างเช่น 식 จะออกเสียงเป็น /ชิก/ ไม่ใช่ /ซิก/ หรือ 쇼 ออกเสียงเป็น /โช/ ไม่ใช่ /ซโย/ เป็นต้น ซึ่งจุดนี้ เคยเห็นหลายท่านออกเสียงผิดมาแล้ว อย่างเช่น ชื่อของ 시원 สมาขิกวง Super Junior ที่จริงๆ แล้ว ต้องออกเสียงว่า /ชี-วอน/ ไม่ใช่ /ซี-วอน/ นะคะ
  • เสียงสระในภาษาเกาหลี ไม่มีการแบ่งเสียงสั้น หรือเสียงยาว ขึ้นอยู่กับการพูดของคนนั้นๆ
  • รูปสระภาษาเกาหลีบางคำ เช่น ㅐ แม้จะเขียนอยู่ในรูปสระแอ แต่การอ่านออกเสียงจริงๆ จะออกเสียงเป็น สระเอ แทน ซึ่งหลายๆ ท่าน อาจจะเกิดคำถามว่า แล้วแบบนี้ เราจะทราบได้อย่างไรว่า คำที่พูดออกมานั้น ใช้สระเอ หรือสระแอ คำตอบก็คือ จะต้องจดจำคำศัพท์เอาเองนะคะ ยิ่งท่องจำเยอะ หรือใช้บ่อยๆ จะสามารถจดจำได้เองค่ะ

แบบฝึกหัดหลังเรียน

จงแปลเป็นภาษาไทย
  1. 성함이 어떻게 되세요?(ชองฮามี ออตอดเก ทวีเซโย?) 
  2. 좋아요./잘 지냈어요.(โชอาโย/ชัล จีแนดซอโย)
  3. 어디 가요? (ออดี คาโย๊)
  4. 도와 드릴까요?(โทวา ทือริลกาโย๊)
  5. 잠깐만기다리세요. / 잠깜만요.(ชัมตันมันกีดารีเซโย / ชัวตัมมันโย)
จงแจ่ประโยคโดยให้มีคำศัพท์ต่อไปนี้
  1. 누구 (นูกู)
  2. 아 버 지 (อาบอจี)
  3. 평 안 하 다 (พยองอันฮาดา) 
  4. 미 안 하 다 (มีอันฮาดา) 
  5. 감 사 하 나 (กำซาฮาดา)